การจัดการคลังสินค้าและข้อมูลสาระสนเทศ
การจัดการการดำเนินงาน การจัดการศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่เป็นหน้าที่ซึ่งซับซ้อน อาจมีคำสั่งที่รับมาเป็นพันๆ คำสั่งในแต่ละวัน ที่เกี่ยวข้องกับ SKU เป็นพันๆ ชนิด และต้องมีการรวบรวมสินค้าตามแต่ละคำสั่ง บรรจุ และอาจจัดส่งด้วยพาหนะเป็นร้อยๆ คัน การวางแผนปฏิบัติการแบบนี้จึงต้องทำในหลายระดับ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงระยะยาวและระยะกลาง เราต้องทำการวางแผนกำลังความสามารถหรือความจุเพื่อย้ำให้แน่ใจได้ว่าจะรองรับการเติบโตได้ และสามารถตอบสนองต่อช่วงเวลาที่งานเพิ่มสูงขึ้นตามฤดูกาลได้ด้วยระดับการบริการที่จำเป็น ในช่วงระยะสั้น เราจำเป็นต้องวางแผนเเรงงานบุคลากรอย่างละเอียดเพื่อให้แน่ใจได้ว่ามีระดับอุปกรณ์และบุคลากรเพียงพอ และแน่ใจว่าอุปกรณ์และบุคลากรเหล่านี้ถูกกระจายไปในแต่ละพื้นที่ของคลังสินค้าอย่างเหมาะสม
ระดับการบริการ
มาตรวัดที่ใช้อาจรวมถึง:
📌 เปอร์เซ็นต์ของคำสั่งซื้อที่เสร็จตามกำหนดเวลา
📌 ความแม่นยำของการเติมคำสั่งซื้อ
📌 ความพร้อมของสินค้าคงคลังในคลังสินค้า
📌 เวลานำของคำสั่งซื้อ
📌 คำสั่งซื้อค้างส่งที่ยังค้างอยู่
📌 สินค้าคงคลังที่เสียหาย
📌 การส่งคืนและคำตำหนิจากลูกค้า
ความมีประสิทธิผลของต้นทุน
จะรวมถึงการติดตามต้นทุนเกี่ยวกับ :
🔹 พนักงาน รวมถึงค่าล่วงเวลา และค่าจ้างพิเศษอื่นๆ
🔹 อาคารและสถานที่
🔹 อุปกรณ์และทรัพยากรอื่นๆ
🔹 การซ่อมบำรุง
🔹 แพลเล็ตและการซ่อมแซมแพลเล็ต
🔹 ชั้นวางวัตถุดิบแลัของใช้อื่นๆ
🔹 บริการต่างๆ ที่รวมถึงบริการทุกอย่างที่ซื้อเข้ามา
ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร
ส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับประสิทธิผลของการใช้สิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งอาจรวมถึงประสิทธิภาพการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บหรือเปอร์เซ็นต์การเติม และประสิทธิภาพความพร้อมของอุปกรณ์ขนถ่าย และเปอร์เซ็นต์ความพร้อมที่สูญเสียไปเนื่องจากการซ่อมบำรุงและการหยุดชะงักของงาน
⭕ การรับ การวางแผนการใช้พื้นที่ การตรวจสอบเทียบกับข้อมูลแจ้งการจัดส่งล่วงหน้า
⭕ การจัดเก็บ กลไกในการพิจารณาตำแหน่งจัดเก็บที่ดีที่สุด
⭕ การเติมสินค้า การเติมสินค้าตามจุดที่กำหนด หรือการเติมสินค้าตามคำสั่งไปที่สถานที่หยิบ
⭕ การหยิบ การปรับเส้นทางการหยิบเลือกให้เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด การจัดการหยิบแบบคลื่น
⭕ บริการเพิ่มคุณค่า การจัดชุด การติดฉลาก การประกอบขั้นสุดท้าย
⭕ การาบรรจุ การระบุขนาดกล่องกระดาษที่ถูกต้อง
⭕ การเปลี่ยนถ่ายสินค้า กางวางแแผน การติดฉลาก และการคัดแยก
⭕ การคัดแยก ตามประเภทต่างๆ เช่น ตามคำสั่ง พาหนะ หรือพื้นที่ภูมิภาค
⭕ การจัดส่ง การควบคุมช่องทางในการรวบรวม การทำเอกสาร
⭕ การจัดการ การวางแผนบุคลากร การวัดผลสมรรถนะ การสร้างแบบจำลอง
⭕ การนับสินค้าคงคลัง การนับสินค้าคงคลังเต็มจำนวนและสินค้าคงคลังที่บันทึกอย่างต่อเนื่อง
ที่มาของแหล่งข้อมูล
หนังสือ คู่มือการจักการลอจิสติกส์และการกระจายสินค้า
เขียนโดย : Alan Rushton , Phil Croucher and Peter Baker
แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤดำรง ดร. วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ และ ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น