โลจิสติกส์แบบบูรณาการและโซ่อุปทาน



โลจิสติกส์แบบบูรณาการและโซ่อุปทาน


การรู้ถึงความจำเป็นของการวางแผนและการควบคุมการกระจายสินค้าอย่างมีประสิทธิผลและควบคู่ไปกับความสัมพันธ์ภายในที่เห็นได้ชัดในระบบโลจิสติกส์และการกระจายของสินค้า ทำให้เกิดการพัฒนาแนวทางใหม่ๆ หลายแนวทางเกี่ยวกับระบบแบบบูรณาการ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศในช่วงไม่นานมานี้ได้ทำให้การประยุกต์ใช้แนวทางใหม่ๆ เหล่านี้มีความเป็นไปได้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราคงกล่าวได้ว่าเรากำลังมุ่งหน้าไปสู่แนวทางของการบูรณาการโลจิสติกส์ ถึงแม้ว่าสำหรับหลายๆ บริษัท ทั้งเล็กและใหญ่ ยังมีขอบเขตการพัฒนาอีกกว้างอยู่มาก

ระบบแนวคิดที่ซับซ้อนและเข้าใจได้ยากอย่างเช่น DDP และ DRP เป็นระบบที่ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทใหญ่ๆ โดยเฉพาะบริษัทระหว่างประเทศ ดูเหมือนว่าบริษัทเล็กๆ จะประยุกต์ใช้แนวคิดเหล่านี้ได้ช้ากว่า แม้ว่าจะเห็นประโยชน์อย่างชัดเจนก็ตาม สาเหตุหลักๆ มีดังนี้


🔽 การขาดการบูรณาการในองค์กรที่สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของโลจิสติกส์และการกระจายสินค้า


🔽 ความล้มเหลวในการพัฒนาแผนระยะยาวที่ใช้การได้สำหรับยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์


🔽 การขาดโครงสร้างด้านสารสนเทศและระบบสันบสนุนที่เหมาะสม ที่จะช่วยในการสร้างฐานข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับการวางแผนและการจัดการโลจิสติกส์


สำหรับบริษัทขนาดเล็กและขนาดกลางจำนวนมากยังมีเหตุที่เข้าใจได้อีกว่า บริษัทเหล่านี้ยังต้องเรียนรู้ที่จะเดินบนเส้นทางโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าก่อนที่จะเริ่มวิ่งบนเส้นทางนี้อย่างรวดเร็วได้ แต่แม้แต่บริษัทที่เพิ่งหัดเดินเหล่านี้ก็ตาม ยังมีประโยชน์อีกมากมายในการเริ่มก้าวแรกๆ ที่สำคัญเหล่านั้นที่นำไปสู่การรับรู้ว่า โลจิสติกส์ควรถูกมองว่าเป็นระบบบูรณาการ และรับรู้ว่ามีความสัมพันธ์ภายในที่แข็งแกร่งระหว่างแต่ละองค์ประกอบ ทั้งการขนส่ง การจัดเก็บ ข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ นอกจากนั้น เรายังจำเป็นต้องรับแนวทางการวางแผนและการควบคุมระบบเหล่านี้ในเชิงบวกด้วย

โชคดีที่ในไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ บริษัทต่างๆ ได้รับรู้ถึงความสำคัญและประโยชน์ของโลจิสติกส์และการกระจายสินค้าที่มีต่อธุรกิจของตัวเองในภาพรวมทั้งหมดแล้วไม่มากก็น้อย ดังนั้น โครงสร้างขององค์กรนโยบายการวางแผนต่างๆ กำลังเริ่มสะท้อนแนวทางการบูรณาการแบบนี้แล้ว

ในบทนี้ เราได้นำเสนอเรื่อง "แนวคิดของโลจิสติกส์โดยรวม" แล้ว และได้ย้ำภึงความจำเป็นที่จะต้องรับรู้โอกาสต่างในการเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์ เราได้อธิบายถึงผลกระทบด้านการเงินของโลจิสติกส์ที่มีต่อธุรกิจ อธิบายถึงความจำเป็นที่สำคัญในการบูรณาการส่วนประกอบของการกระจายสินค้าและโลจิสติกส์ให้กลายเป็นโครงสร้างการทำงานที่ช่วยให้ระบบโดยรวมสามารถที่ดำเนินไปได้ในระดับที่ดีที่สุด นอกจากนั้น เรายังได้สรุปบางแง่มุมของการวางแผนโลจิสติกส์แล้วด้วยเช่นกัน และสุดท้าย เราได้นำเสนอพัฒนาการในด้านความคิดเกี่ยวกับโลจิสติกส์ด้วย รวมถึงการเป็นโลกาภิวัฒน์ของบริษัทต่างๆ ระบบการวางแผนที่มีการบูรณาการ การใช้โลจิสติกส์เพื่อช่วยสร้างข้อได้เปรียบในการแข่งขัน และแนวคิดของการจัดการโซ่อุปทาน



เขียนโดย : Alan Rushton, Phil Croucher and Peter Baker

แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤทดำรง ดร.วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ และ ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การออกแบบคลังสินค้า

การจัดการวัสดุและการผลิต