หลักการจัดการคลังสินค้า





                หลักการจัดการคลังสินค้า




              ลักษณะของคลังสินค้าภายในโซ่อุปทานต่างๆ อาจแตกต่างกันได้มากมาย ดังนั้นเราจึงสามารถจัดประเภทของคลังสินค้าได้หลายแบบ ยกตัวอย่างเช่น
             ➤ ตามช่วงของโซ่อุปทาน วัตถุดิบ งานระหว่างทำ หรือสินค้าสำเร็จรูป 
             ➤ ตามพื้นที่ทางภูมิภาค อาจมีคลังสินค้าแห่งหนึ่งที่จัดเก็บชิ้นส่วนไว้เพื่อให้บริการกับพื้นที่ทั่วโลก คลังสินค้าประจำภูมิภาคอาจจะให้บริการเพียงไม่กี่ประเทศ
             ➤ ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ ยกตัวอย่าง เช่น ชิ้นส่วนขนาดเล็ก การประกอบขนาดใหญ่ (เช่น ตัวถังรถยนต์) อาหารแช่แข็ง สินค้าที่เสื่อมสภาพได้ สินค้านิรภัย และสินค้าอันตราย
             ➤ ตามหน้าที่ ยกตัวอย่างเช่น การเก็บสินค้าคงคลัง หรือการจัดเรียงสินค้า (เช่น การทำหน้าที่เป็นศูนย์บ่อย Hub ของบริษัทขนส่งพัสดุ
             ➤ ตามความเป็นเจ้าของ ผู้ใช้เป็นเจ้าของเอง ( เช่น ผู้ผลิตหรือบริษัทค้าปลีก) หรือเป็นของบริษัทโลจิสติกส์ภายนอก
             ➤ ตามการใช้งานในบริษัท เช่น คลังสินค้าเฉพาะบริษัทเดียว หรือคลังสินค้ารวมที่จัดการโช่อุปทานของหลายบริษัท
             ➤ ตามขนาดพื้นที่ ตั้งแต่ต่ำกว่า 100 ตารางเมตร จนถึงมากกว่า 100,000 ตารางเมตร 
             ➤ ตามความสูง คลังสินค้าที่มีความสูงตั้งแต่ 3 เมตร จนถึงคลังสินค้าแบบหลังคาสูง ( High-bay) ที่อาจจะสูงกว่า 45 เมตร 
             ➤ ตามอุปกรณ์ ตั้งแต่ปฏิบัตการที่พนักงานจัดการเองด้วยมือ จนถึงคลังสินค้าอัตโนมัติ

              ปฏิบัติการในคลังสินค้า
            ➤ การรับ (Receiving) การขนสินค้าลงจากพาหนะส่งสินค้าขาเข้า เกี่ยวกับการตรวจสอบและบันทึกเอกสาร ตั้งแต่จุดนี้เป็นต้นไปสินค้าจะถุกนำไปจัดเก็บ (Put-away) ในคลังสินค้า
            ➤ คลังจัดเก็บสำรอง (Reserve Storage) พื้นที่ส่วนที่จะเก็บสินค้าคงคลังจำนวนมากของคลังสินค้าในสถานที่ซึ้งสามารถระบุสินค้าได้เมื่อจำเป็นต้องใช้ สินค้าจะถูกมาจากคลังจัดเก็บสำรองตรงไปรวบรวมไว้
            ➤ การหยิบตามคำสั่ง (Order Picking) สินค้าจะถุกเลือกจากคลังสินค้าสำหรับการหยิบตามจำนวนที่ต้องการ และตามเวลาที่กำหนดในคำสั่งของลูกค้าการหยับมักเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการแบ่งปริมาณสินค้า ( Bulk Breaking) 
            ➤ การคัดแยก (Sortation) สำหรับคำสั่งที่มีขนาดเล็ก บางทีการรวบรวมคำสั่งจำนวนหนึ่งเข้าด้วยกันและปฏิบัติคำสั่งนั้นเหมือนเป็นคำสั่งเดียวในการหยิบก็หนทางที่เหมาะสมกว่า
            ➤ การจัดเรียงและบริการที่เพิ่มคุณค่า (Collation and Added Value Services) หลังจากการหยิบ สินค้าจะถูกนำมารวมกันและรวบรวมเป็นคำสั่งที่สมบูรณ์พร้อมจัดส่งให้ลูกค้า
            ➤ การรวบรวมและการจัดส่ง (Marshalling and Dispatch) สินค้าจะถุกนำมารวมกันเพื่อประกอบกันเป็นระวางสินค้าสำหรับบรรจุภาหนะในพื้นที่จักส่ง แล้วจะถุกขนเข้าไปในพาหนะขาออกเพื่อจัดส่งต่อให้กับ 'จุดเชื่อม' (Node) ต่อไปในโซ่อุปทาน





ที่มาของแหล่งข้อมูล
         หนังสือ คู่มือการจักการลอจิสติกส์และการกระจายสินค้า
         เขียนโดย : Alan Rushton , Phil Croucher and Peter Baker
         แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤดำรง ดร. วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ และ ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ  



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การออกแบบคลังสินค้า

การจัดการวัสดุและการผลิต

โลจิสติกส์แบบบูรณาการและโซ่อุปทาน