การจัดซื้อและอุปทาน


การจัดซื้อและอุปทาน




             การกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดหา
             ⇰ เมื่อกำหนดวัตภุประสงค์ของการจักหา เราควรพิจารณาเรื่อต่างๆ ดังต่อไปนี้ 
             ⇰ ย้ำให้แน่ใจว่าอุปทานของวัตถุดิบและวัสดุอื่นๆ พร้อม
             ⇰ การจัดการสินค้าคงคลังโดยผู้ค้า (VMI)
             ⇰ คุณภาพของอุปทาน
             ⇰ รายละเอียดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์
             ⇰ ราคา 
             ⇰ แหล่งที่มาของอุปทาน
             ⇰ วิธีการนำส่ง เช่น การจัดส่งแบบทันเวลาพอดี
             ⇰ วิธีการขนส่งที่เลือกใช้
             ⇰ ลำดับขั้นของความสำคัญ เช่น วัตถุดิบมีความสำคัญมากกว่าเครื่องเขียนสำหรับสำนักงาน
             ⇰ การพิจารณาว่าจะผลิตเองหรือจะซื้อจากผู้จัดส่งวัตถุดิบ
             
             คุณภาพของอุปทาน
             การย้ำให้แน่ใจว่าสินค้าและการบริการที่ซื้อมีคุณภาพตามที่ต้องการเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะว่าอุปทานที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานจะก่อให้เกิดของเสียและปัญหาอื่นๆอีกมากมาย
             ⇰ ถ้าสินค้านั้นใช้การไม่ได้ มันจะไปกินที่ของสินค้าที่ใช้การได้และทำให้ปริมาณสินค้าที่มีต่ำกว่าปริมาณสินค้าที่ต้องการ และทำให้เกิดการขาดแคลน ซึ่งอาจเป็นปัญหาใหญ่ในสภาพแวดล้อมแบบ JIT
             ⇰ สินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานจะต้องเก็บรักษาไว้รอการเก็บคืน ซึ้งอาจเป็นปัญหาได้ถ้าพื้นที่จัดเก็บส่วนรับคืนมีจำกัด
             ⇰ สินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานจะก่อให้เกิดต้นทุนจากธุรกรรม เพราะว่าต้องใช้เอกสารและเวลาในการแก้ไขข้อผิดพลาดนี้
             ⇰ สินค้าที่มีคุณภาพต่ำกว่ามาตรฐานจะทำให้ความเชื่อมั่นในตัวผู้จัดส่งวัตถุดิบและกระบวนการอุปทานตกต่ำลง

             การจัดหาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์
             อินเทอร์เน็ตได้สร้างตลาดสากล ที่ผู้ซื้อทั้งที่เป็นผู้บริโภคและผู้ซื้อที่เป็นมืออาชีพใช้งานได้ บริษัทบนอินเทอร์เน็ตเช่น eBay ได้สร้างเวบไซต์ประมูลขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขายจากทั่วโลกเข้าด้วยกัน ในบางอุตสาหกรรมมีการใช้ 'เวบท่า' (Portal) เฉพาะอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการเชื่อมต่อระหว่างผู้จัดส่งวัตถุดิบกับผู้ซื้อ นอกเหนือจากการซื้อสินค้าบางประเภทแล้ว เรายังสามารถใช้อินเทอร์เน็ตในการจัดส่งด้วย ยกตัวอย่างเช่น ซอฟแวร์ เพลง และภาพยนต์ สามารถจัดส่งผ่านอินเทอร์เน็ตได้
           ⇰ รูปแบบอื่นๆของการจัดหาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ยังรวมถึง
           ⇰ การประมูลทางอินเทอร์เน็ตที่ผู้ประมูลที่ผ่านการรับรองคุณสมบัติแล้วประมูลสัญญางานแข่งกัน
           ⇰ การส่งและการรับเอกสาร เช่น คำสั่งซื้อ ใบขน (Bill of Lading) RFQ ใบแจ้งราคาสินค้า และใบรับรองการจัดส่ง
           ⇰ การใช้เค็ตตาล็อกทางอินเทอร์เน็ต



ที่มาของแหล่งข้อมูล
         หนังสือ คู่มือการจักการลอจิสติกส์และการกระจายสินค้า
         เขียนโดย : Alan Rushton , Phil Croucher and Peter Baker
         แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤดำรง ดร. วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ และ ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การออกแบบคลังสินค้า

การจัดการวัสดุและการผลิต

โลจิสติกส์แบบบูรณาการและโซ่อุปทาน