สินค้าคงคลังกับโซ่อุปทาน

สินค้าคงคลังกับโซ่อุปทาน
เนื่องจากความรับผิดชอบเกี่ยวกับสินค้าคงคลังกำลังเปลี่ยนไปแบบนี้ วิธีการวางแผนสินค้าคงคลังแบบดังเดิมจึงนำมาใช้ได้ยากขึ้นสำหรับหลายๆบริษัท วิธีการเหล่านี้รวมถึง แนวคิดขแงปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุด (EOQ) ถึงแม้ว่า EOQ จะเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์และยังใช้งานได้อยู่ในหลายกรณี แต่สมมติฐานหลักๆ ที่จำเป็นสำหรับวิธีการนี้เริ่มที่จะไม่สอดคล้องกับบริษัทต่างๆ ที่ปรับกิจกรรมโลจิสติกส์และโซ่อุปทานของตนเองให้ เป็นสายธาร (Streamline) มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น
ไม่สามารถคาดการณ์อุปสงค์ได้เหมือนเช่รในอดีต
ช่วงเวลานำ (Lead Time) ไม่ได้คงที่ซึ่งอาจแปรเปลี่ยนไปได้แม้สำหรับผลิตภัณฑ์เดิมที่สั่งซื้อในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน
ต้นทุนมีความแปรผะนมากขึ้นความสัมพันธ์ด้านต้นทุนในการสั่งซื้อได้เปลี่ยนไปจากการใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติและระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์(EDI) ที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการสั่งซื้อ
ความสามารถหรือกำลังในการผลิตอาจจะต้องใช้กำลังในการผลิตที่มากเป็นพิเศษ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต้องการใดๆ ก็ตามอาจไม่คุ้มค่า
ผลิตภัณฑ์แต่ละตัวมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และจะต้องอุปทานให้ไปพร้อมๆกัน เพื่อที่จะ ตอบสนองคำสั่งได้อย่างสมบูรณ์แบบ
สินค้าคงคลังและเวลา
การลดเวลานำ (Lead time Reduction) แนวทางนี้เล็งเห็นถึงความสัมคัญของเวลาในกระบวนการตัดสินใจเกี่ยวกับสินค้าคงคลัง เป้าหมายของการลดเวลานำคือ การลดเวลาที่ไม่จำเป็นภายในกระบวนการตั้งแต่เริ่มสั่งซื้อจนถึงการจัดส่งออกไป ซึ่งจะลดความจำเป็นในการถือครองสินค้าคงลังสำหรับช่วงเวลานี้ด้วยการลดเวลานี้สามารถ ทำได้หลายทางเช่น
✔ จัดการโซ่อุปทานเหมือนเป็นเส้นทางการขนส่ง
✔ ใช้ข่อมูลสารสนเทศให้ดีขึ้น
✔ ให้สินค้าคงคลังในโซ่อุปทานสามารถมองเห็นและรับรู้ได้มากขึ้น
(Visibility) สำหรับผู้เกี่ยวข่องทุกราย
✔ เน้นที่กระบวนการหลักๆ
✔ ใช้เทคนอคแบบทันเวลาพอดี (JIT) เพื่อช่วยเร่งความเร็วในการ ไหลของผลิตภัณฑ์ผ่านโซ่อุปทาน
✔ ใช้วิธีการขนส่งที่เร็วขึ้น
✔ สร้างหุ้นส่วนพัธมิตรในโซ่อุปทาน
การวางแผนสินค้าคงคลังสำหรับการผลิต
พัฒนาการในการวางแผนสินค้าคงคลังสำหรับการผลิตที่เพิ่มเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้แล้ว พัฒนาการเหล่านี้รวมถึง
✔ การวางแผนความต้องการวัตถุดิบ (MRP)
✔ การวางแผนความต้องการในการกระจายสินค้า (DRP)
✔ การบีบอัดเวลา
พัฒนาการในวางแผนสินค้าคงคลังสำหรับค้าปลีก
✔ การจัดการสินค้าคงคลังโดยผู้ค้า (VMI)
✔ การเติมสินค้าอย่างต่อเนื่อง (CRP)
✔ การตอบสนองอย่างรวดเร็ว (QR)
✔ การตอบสนองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพ (ECR)
ที่มาของแหล่งข้อมูล
หนังสือ คู่มือการจักการลอจิสติกส์และการกระจายสินค้า
เขียนโดย : Alan Rushton , Phil Croucher and Peter Baker
แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤดำรง ดร. วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ และ ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น