การจัดการสินค้าคงคลัง
การจัดการสินค้าคงคลัง
ความจำเป็นในการถือครองสินค้าคงคลัง มีสาเหตุอยู่หลาข้อที่ทำให้บริษัทหนึ่งต้องเลือกหรือมีความจำเป็นที่จะเก็บสินค้าคงคลังของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไว้ ในการแผนระบบการกระจายสินค้า เรานำเป็นต้องรับรู้ถึงสาเหตุเหล่านี้ และย้ำให้แน่ใจได้ว่าผลลัพธ์ที่ได้สามารถใช้ได้อย่างพอเพียงแต่ไม่ทำให้
ระดับสินค้าคงคลังสูงมากเกินไป สาเหตุเหล่านี้ สรุปได้ดังนี้
🔻 เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
🔻 เพื่อรองรับความแปรปรวนของอุปสงค์
🔻 เพื่อรองรับเวลาในการจัดหาวัตถุดิบ (เวลานำ) ในช่วงต่างๆ
🔻 ต้นทุนในการจัดซื้อ
🔻 เพื่อฉวยโอกาสส่วนลดจากปริมาณการสั่งซื้อ
🔻 เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล
🔻 เพื่อจะรองรับการเปลี่ยนแปลงหรือการเก็งราคา
🔻 เพื่อช่วยให้การผลิตและปฏิบัติการกระจายสินค้าราบเรียบมากขึ้น
🔻 เพื่อให้การบริการลูกค้าได้ในทันที
🔻 เพื่อลดความล่าช้าในการผลิตที่เกิดจากการขาดชิ้นส่วนอะไหล่
ประเภทของการเก็บสินค้าคงคลัง เราจะพบเห็นสินค้าคงคลังหลายประเภทในโซ่อุปทานของแต่ละบริษัท สินค้าคงคลังเหล่านี้มักเก็บในจุดที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ทั่วเครือข่ายลอจิสติกส์ของบริษัท ประเภทของสินค้าคงคลังหลักๆ มีดังนี้
🔺 วัตถุดิบ ส่วนประกอบ และบรรจุภัณฑ์
🔺 สำเร็จรูป
🔺 คงคลังใน 'เส้นทางการส่ง'
🔺 สินค้าคงคลังทั่วไป
🔺 อะไหล่
🔺 สินค้าคงคลังใช้งาน
🔺 สินค้าคงคลังหมุนเวียน
🔺 สินค้าคงคลังนิรภัย
🔺 สินค้าคงคลังเก็งกำไร
🔺. สินค้าคงคลังตามฤดูกาล
ต้นทุนสินค้าคงคลัง เป็นต้นทุนหลักส่วนหนึ่งในต้นทุนลอจิสติกส์ของบริษัทผู้ผลิตและบริษัทค้าปลีกจำนวนมาก และมันยังสามารถทำให้ต้นทุนลอจิสติกส์สูงมากด้วย
ต้นทุนในการถือครองสินค้าคงคลังมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่ 4 ส่วน คือ
- ต้นทุนของเงินทุน
- ต้นทุนบริการ
- ต้นทุนการจัดเก็บ
- ต้นทุนความเสี่ยง
ที่มาของแหล่งข้อมูล
หนังสือ คู่มือการจักการลอจิสติกส์และการกระจายสินค้า
เขียนโดย : Alan Rushton , Phil Croucher and Peter Baker
แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤดำรง ดร. วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ และ ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น