กรอบการทำงานการวางแผนโลจิสติกส์


กรอบการทำงานการวางแผนโลจิสติกส์
             แรงกดดันที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ในอดีต  หลายๆ องค์กรได้รับเอาแนวทางแบบครึ่งๆ กลางๆ ที่ไม่ครบถ้วนมาใช้ในการวางแผนยุทธศาสตร์  เราเห็นได้ชัดเจยในด้านโลจิสติกส์  ซึ่งมีการปรับปรุงปัจจัย  แต่ละปัจจัยเหล่านี้ต้องนำมาวางแผนร่วมกัน  การจะมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งโดยไม่ทำความเข้าใจและคำนึงถึงอิทธิพลของปัจจัยอื่นๆ  คงเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม  ถึงแม้จะระบุว่าการออกแบบกระบวนการควรเป็นปัจจัยแรกที่ต้องพิจารณา  แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป

           เครื่องมือและเทคนิคในการออกแบบโลจิสติกส์จะอธิบายในบทถัดๆ  ไป  ก่อนที่เราจะพิจารณาเครื่องมือและเทคนิคเหล่านี้  ส่วนที่เหลือของบทนี้จะเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ  ที่มีอิทธพลต่อการออกแบบปฏิบัติการโลจิสติกส์เช่นกัน

          เรื่องนี้เริ่มต้นด้วยโครงร่างของแรงกดดันหลักๆ  ที่ตกแก่บริษัทและทำให้บริษัทต้องพิจารณาการออกแบบยุทธศาสตร์โดยรวมใหม่ทั้งหมด   โครงร่างนี้ครอบคลุมถึงแง่มุมต่างๆทั้งภายในและนอกบริษัท  เราได้นิยามภาพรวมของการออกแบบยุทธศาสตร์ไว้เพื่อที่จะทบทวน

                  ➸   สภาพแวดล้อมภายนอกสำหรับบริษัท

                  ➸   ปัจจัยภายใน

                  ➸   พัฒนาการของยุทธศาสตร์ขององค์กร

                  ➸   พัฒนาการของยุทธศาสตร์ในการแข่งขัน

                  ➸   พัฒนาการของแผนยุทธศาสตร์เชิงหน้าที่งาน


          เราได้นำเสนอโครงสร้างของยุทธศาสตร์ในการออกแบบโลจิสติกส์แล้ว  ซึ่งครอบคลุมถึงแง่มุมในการออกแบบโลจิสติกส์ 4 ด้าน  คือ

                 1.  การออกแบบกระบวนการ

                 2.  การออกแบบเครือข่าย

                 3.  การออกแบบระบบข้อมูลสารสนเทศ

                 4.  โครงสร้างขององค์กร







ที่มาของแหล่งข้อมูล
         หนังสือ คู่มือการจักการลอจิสติกส์และการกระจายสินค้า
         เขียนโดย : Alan Rushton , Phil Croucher and Peter Baker
         แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤดำรง ดร. วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ และ ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การออกแบบคลังสินค้า

การจัดการวัสดุและการผลิต

โลจิสติกส์แบบบูรณาการและโซ่อุปทาน