ประเด็นหลักและความท้าทายของโลจิสติกส์






ประเด็นหลักและความท้าทายของโลจิสติกส์



         ปัจจัยดังเดิมที่ผลักดันโลจิสติกส์มาโดยตลอด คือ 'ต้นทุน' เทียบกับ 'การบริการลุกค้า' เรื่องนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย เหมือนที่เราจะได้เห็นจากการนำเสนอผลการสำรวจจากช่วงไม่นานมานี้

           สภาพแวดล้อมภายนอก
           อิทธิฟลหลักหนึ่งที่มีความสำคัญเพิ่มมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ คือ พัฒนาการของสหภาพเศรษฐกิจต่างๆ (สหภาพยุโรป,ASEAN ,NAFTA ฯลฯ) ถึงแม้ว่าการก่อตั้งสหภาพเหล่านี้จะก่อตั้งด้วยเหตุผลด้านการเมือง แต่ประสบการณ์ได้สอนให้เรารู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ก็เป็นการเปลี่ยนแปลในทางที่ดีด้วย 

          การผลิตและอุปทาน
          พัฒนาการหล่านี้เป็นผลของทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการเปลี่ยนแปลงขององค์กร การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีดังนี้
         • เทคโนโลยีในการผลิตแบบใหม่ๆ ซึ้งสามารถรองรับข้อเรียกร้องในการผลิตและความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนมากขึ้นได้
         • ความสัมพันธ์ใหม่ๆกับผู้จัดหาวัตถุดิบ โดยที่เน้นไปที่การจัดหาจากแหล่งเดียวกับอุปทานแบบลีน 
         • โรงงานแบบมุ่งเน้น โดยเน้นไปที่แห่งวัตถุดิบ
         •การจัดหาวัตถุดิบระดับโลก ซึ้งเน้นการเปลี่ยนแปลงจากการจัดหาในพื้นที่ท้องถิ่นหรือการจัดหาภายในประเทศ
         • การเลื่อนเวลาหรือการฉลอการผลิต เป็นการเลื่อนขั้นตอนการปรับแต่งผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายไปช่วงหลักๆ
          • การร่วมกันผลิต พัฒนาการของหุ้นส่วนพันธมิตรระหว่งผู้จัดส่งวัตถุดิบและผู้ซื้อ
          • การใช้สถานที่ร่วมกัน การใช้สถานที่ทางกายภาพร่วมกันหรือใกล้ๆันระหว่างผู้จัดส่งวัตถุดิบกับลูกค้า

         

การกระจายสินค้า
          ภายใต้การปกป้องของการกระจายสินค้า คุณสมบัติพิเศษข้อหนึ่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ คือ การมุ่งไปที่การปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้งานสินทรัพย์ ซึ้งมีตัวอย่างให้เห็นแล้วในหลายงาน เช่น ในการกระจายสินค้าของชำด้วยการสร้างศูนย์กระจายสินค้าแบบผสมและการใช้พาหนะแยกสัดส่วนสำหรับสินค้า การขนส่งขากลับของพาหนะขนส่ง และพัฒนาการของบริการกระจายสินค้า




การค้าปลีก
         ในภูมิภาคยุโรป มีแนวโน้มหลายแนวโน้มในภาคการค้าปลีกที่มีและยังคงมีผลกระทบต่อการพัฒนาโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน เราไม่ควรมองข้ามความสำคัญของกลุ่มบริษัทค้าปลีกสินค้าของชำไป เพราะมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ล้วนมีอิทธิพลต่อยุทธศาสตร์และปฏิบัติการด้านโลจิสติกส์อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่มีผลปพร่ไไกลที่สุดคงมาจากนโยบายการลดสินค้าคงคลังหลายๆแบบ นโยบายเหล่านี้จะรวมถึง 
          • การขยายพื้นที่การค้าปลีกให้ได้มาที่สุด โดยที่สละพิ้นที่จัดเก็บสินค้าคงคลังของร้านค้าปลีกไป
          • การลดปริมาณสินค้าคงคลังในศูนย์กระจายสินค้าเนื่องจากนโยบายในการลดต้นทุน
          • การลดจำนวนของศูนย์กระจายสินค้าที่เก็บสินค้าคงคลัง
          • ปรัชญาและแนวคิด JIT
          • นโยบายในการจัดการสินค้าคงคลังที่จัดการโดยบริษัทผู้ค้า (VMI)




ที่มาของแหล่งข้อมูล
         หนังสือ คู่มือการจักการลอจิสติกส์และการกระจายสินค้า
         เขียนโดย : Alan Rushton , Phil Croucher and Peter Baker
         แปลโดย : ดร.วิทยา สุหฤดำรง ดร. วิชัย รุ่งเรืองอนันต์ และ ดร.บุญทรัพย์ พานิชการ 






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การออกแบบคลังสินค้า

การจัดการวัสดุและการผลิต

โลจิสติกส์แบบบูรณาการและโซ่อุปทาน